ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
1/1 นายเอกธพงษ์ ลอนหิน เลขที่7
1.นิยามของกราฟิก
-กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการ
2. นิยามความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
-คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ
3. การแบ่งประเภทของภาพกราฟิก
-ประเภทของภาพกราฟิกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
3.2 ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ โดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3 D’s Max , โปรแกรม Maya เป็นต้น ซึ่งทำให้ได้ภาพมีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงานด้านสถาปัตย์และการออกแบบต่างๆ
4. ระบบสีที่ใช้กับภาพกราฟิก
-ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red), สีเขียว(Green) และสีน้ำเงิน(Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสง ของสีทั้ง 3 สีมาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล(Pixel)
5. ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิก
JPEG หรือ JPG (Join Photographic Export Group)
ข้อดี
1. สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit
2. แสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
3. สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
4. มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อย ๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบโพรเกรสซีฟ (Progressive)
5. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
6. เรียกดูได้กับบราวเซอร์ (Browser) ทุกตัว
ข้อเสีย
1. ไม่สามารถทำภาพให้มีพื้นหลังแบบโปร่งใส (Transparent) ได้
2. ทำภาพเคลื่อนไหว (Animation) ไม่ได้
GIF (Graphic Interchange Format)
ข้อดี
1. สามารถใช้งานข้ามระบบไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) หรือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
2. ภาพมีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้อย่างรวดเร็ว
3. สามารถทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
4. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
5. เรียกดูได้กับบราวเซอร์ทุกตัว
6. สามารถนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหวได้
ข้อเสีย
1. แสดงสีได้เพียง 256 สี
2. ไม่เหมาะกับภาพที่ต้องการความคมชัดหรือความสดใส
PNG (Portable Network Graphics)
ข้อดี
1. สนับสนุนสีได้ตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit)
2. สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
3. ทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
ข้อเสีย
1. หากกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ไว้สูงจะใช้เวลาในการคลายไฟล์ภาพสูงตามไปด้วย
2. ไม่สนับสนุนกับบราวเซอร์รุ่นเก่า
3. โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
BMP (Bitmap)
ข้อดี
1. แสดงรายละเอียดสีได้ 24 บิต
2. ไม่มีการสูญเสียข้อมูลใด ๆ เมื่อมีการย่อหรือขยายภาพ
3. นำไปใช้งานได้กับทุกโปรแกรมในระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ข้อเสีย
1. ภาพมีขนาดใหญ่มากจึงใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก
2. ความละเอียดของภาพอาจจะไม่ชัดเจนเหมือนต้นฉบับ
TIF หรือ TIFF (Tagged Image File)
ข้อดี
1. สามารถใช้งานข้ามระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์หรือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพชนิดนี้ได้
2. แสดงรายละเอียดสีได้ 48 บิต
3. ไฟล์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
4. เมื่อมีการบีบอัดไฟล์จะมีการสูญเสียข้อมูลน้อยมาก
5. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
ข้อเสีย
1. ไฟล์ภาพมีขนาดค่อนข้างใหญ่
2. ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ภาพสูง
6.6. PSD (Photoshop Document)
ข้อดี
1. มีการบันทึกแบบแยกเลเยอร์และเก็บประวัติการทำงานทุกขั้นตอน
2. สามารถนำไฟล์ภาพมาแก้ไขได้ในภายหลัง
ข้อเสีย
1. ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับไฟล์ภาพประเภทอื่น
2. ไม่สามารถเปิดใช้งานในโปรแกรมอื่นได้
6. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก
-คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานออกแบบ (Computer – Aided Design)
-คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานนำเสนอ (Presentation)
-คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานบันเทิง (Entertainment)
-คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานเว็บไซต์ (Web Site)
-คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการศึกษาและฝึกอบรม (Education and Training)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น