ลิขสิทธิ์การออกแบบ
นายเอกธพงษ์ ลอนหิน 1/1 ชทค. เลขที่7
ลิขสิทธิ์
สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใด หรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย
เรื่องหนึ่งที่นักออกแบบหลายๆคน ไม่ว่าจะรับทำ infographic โลโก้ กราฟิกทั่วไป มักจะกังวลกันมากก็คือเรื่องของลิขสิทธิ์ในงานออกแบบ ว่ามีอะไรบ้าง มีขอบเขตอย่างไร ลิขสิทธิ์แบบไหนที่ให้การคุ้มครองในงานออกแบบที่เราได้ออกแบบไป วันนี้เราจึงมีบทความดีๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของลิขสิทธิ์ในงานออกแบบมาฝากกัน
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่คุ้มครองในเรื่องของงานออกแบบ
มีด้วยกัน 3 ประเภทดังนี้คือ
1.เครื่องหมายการค้า (Trademark)
หมายถึง คำ ชื่อ ข้อความ รูป ตัวเลข กลุ่มสี รูปร่างของวัตถุที่บ่งบอกความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการ แบรนด์ธุรกิจต่างๆ ได้ เห็นแล้วรู้ทันที โดยต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพรบ.เครื่องหมายการค้า ห้ามซ้ำกับเครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้ว และห้ามคล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียง
เครื่องหมายการค้านี้มีการให้ความคุ้มครองทันทีตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียน แม้ว่ากระบวนการจดและตรวจสอบจะยาวนานเป็นปี แต่ถ้ามีปัญหาก็สามารถย้อนหลังไปถึงวันที่จดทะเบียน โดยมีอายุการคุ้มครอง 10 ปี และสามารถต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี
2.ลิขสิทธิ์ (Copy Right)
งาน 9 ประเภทซึ่งมีลิขสิทธิ์ ได้แก่
1.งานวรรณกรรม (รวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
2.งานการแสดง
3.งานวิจิตรศิลป์ ศิลปกรรม ได้แก่
-ภาพวาด
-ประติมากรรม
-งานพิมพ์
-งานตกแต่งสถาปัตย์
-ภาพถ่าย
-ภาพวาดเขียน แผนที่ ภาพร่าง
-งานประยุกตศิลป์ (งานประยุกตศิลป์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากวันจัดสร้าง)
4.งานดนตรี
5.งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)
6.งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
7.งานภาพยนตร์
8.งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
9.งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ (รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
3.สิทธิบัตร (Patent)
สิทธิบัตรแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 3 ประเภทคือ
3.1 สิทธิบัตรทางการประดิษฐ์
3.2 สิทธิบัตรทางการออกแบบ
3.3 อนุสิทธิบัตร
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
CC
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการ ใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม
1.อ้างอิงแหล่งที่มา (CC-BY)
2. อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA)
3. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND)
4. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)
5. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-NC-SA)
6. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง (CC-BY-NC-ND)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
CG หรือ cg สามารถหมายถึง คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หรือ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (computer graphics) ศูนย์กลางมวล (center of gravity)
CG คืออะไร
CG ย่อมาจากคำว่า Computer Generated
แต่ในปัจจุบันจะเรียกว่า Computer Graphic สองคำนี้มีความหมายเดียวกัน
ก็คือการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบงาน
ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว
เราจะเห็นงานพวกนี้อยู่ทั้งในภาพยนตร์ ละคร หรือแม้กระทั้งโฆษณาต่าง ๆ
การสร้างฉากด้วย CG เราจะเรียกเทคนิคนี้ว่า Green Screen (พื้นหลังสีเขียว) หรือ Blue Screen (พื้นหลังสีฟ้า) เหตุผลที่ใช้สีเขียวกับฟ้านั้น เพราะร่างกายของเรามีสองสีนี้น้อยที่สุด การทำงานของ CG คือการสร้างฉากด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องไปถ่ายในสถานที่จริง เช่น นักแสดงยืนมองฉากสีเขียว ๆ อยู่ ก็จะต้องจินตนาการว่ากำลังยืนมองการต่อสู้ ดังนั้นการตัดต่อจะออกมาเนียนหรือไม่เนียนก็ขึ้นอยู่กับการแสดงของนักแสดงเช่นกัน
CG ไม่ได้สร้างแค่ฉากเท่านั้น CG ยังสร้างตัวละครต่าง ๆ เช่น สัตว์ประหลาด มนุษย์ต่างดาว และอื่น ๆ อีกมากมาย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แหล่งอ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/CG
https://shorturl.asia/cEqP9
https://image.dek-d.com/contentimg/2018/mint/Science/Jan-June/cg02.jpg
https://wtfintheworld.com/wp-content/uploads/2020/01/10-48-640x686.jpg
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=968
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น